วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการทอผ้าของชาวล้านนา




ดินแดนล้านนาหรือภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยนั้น เป็นดินแดนที่พบสิ่งทอหรือผ้าทอแบบพื้นถิ่นพื้นเมืองอยู่ค่อนข้างมากและมีความหลากหลายแตกต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องด้วยมีกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ทั้งที่อาศัยอยู่มาแต่โบราณกาล และเพิ่งอพยพเข้ามา โดยมีพื้นที่อาศัยอยู่ทั้งพื้นที่ราบและในเขตภูเขา อาทิ ไทยวน (คนเมือง) ไทลื้อ ลาว ไทใหญ่หรือเงี้ยว กะเหรี่ยง มอญ ลัวะ ตลอดจนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ เช่น ม้ง เย้า อีก้อ ลีซอ มูเซอ เป็นต้น ดังนั้น ผ้าทอพื้นถิ่นพื้นเมืองที่พบในดินแดนล้านนาจึงมีรูปแบบ เทคนิค ลวดลาย แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและลักษณะชาติพันธุ์ของกลุ่มชนเหล่านั้น ซึ่งผ้าทอเหล่านั้นล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา และลักษณะของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความแตกต่างของผ้าทอต่างๆเหล่านั้น ซึ่งผ้าทอเหล่านั้นล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา และลักษณะของแต่ละชาติพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความแตกต่างของผ้าทอต่างๆ เหล่านั้น ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องอยู่ที่เทคนิคที่ใช้ในการทอผ้าแต่ละชนิด ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในผ้าทอพื้นถิ่นพื้นเมืองในแต่ละชนิด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเทคนิคการทอผ้าแบบต่างๆ ที่พบมีใช้อยู่ในดินแดนล้านนาต่อไป ดังนี้

  • มัดหมี่ เป็นศัพท์เทคนิค ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า lkat ซึ่งเดิมเป็นภาษาอินโดนีเซีย มัดหมี่ หมายถึง ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าหลังจากการมัดลานที่ด้ายพุ่งด้วยเชือก ก่อนนำไปย้อมสี ซึ่งจะทำให้เกิดลวดลายตามที่ต้องการที่ด้ายเส้นพุ่งก่อนนำไปทอเป็นผืนผ้าเทคนิคนี้รู้จักกันกว้างขวางในกลุ่มชนที่เรียกว่า ไท- ลาว ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณตอนกลางของที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนั้นยังพบว่ามีไทลื้อกลุ่มหนึ่งในจังหวัดน่านยังคงใช้เทคนิคมัดหมี่สำหรับผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งชาวไทลื้อกลุ่มนี้จะเรียกเทคนิคนี้ว่า มัดก่าน หรือ คาดก่าน จะนิยมทอลายมัดหมี่นี้สลับกับการทอลายขิด ทั้งลวดลายและการทอสลับขิดเช่นนี้คล้ายคลึงกับกลุ่มชนไทเหนือที่อาศัยอยู่ในแถบแขวงซำเหนือทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว 
  • จก เป็นเทคนิคการทำลวดลายบนผืนผ้าด้วยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไป เป็นช่วงๆไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า กระทำโดยใช้ไม้หรือขนเม่น หรือนิ้วมือยกหรือจกด้ายเส้นยืนขึ้น แล้วสอดใส่ด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไป คนบางกลุ่มใช้เทคนิคนี้ทำลวดลายบนผ้าโดนคว่ำหน้าของผ้าลงกับกี่ เช่น การทอจกที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เทคนิคนี้กลุ่มชนตระกูลไทรู้จักกันดี และใช้ทอทั้งในการทอผ้าฝ้ายและผ้าไหม
  • ขิด เป็นเทคนิคการทำลวดลายบนผืนผ้าด้วยวิธีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไป เช่นเดียวกับการจก แต่ลายขิดท่าติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า กระทำโดยใช้ไม้ค้ำ (shed sticks) หรือเขาที่ทำพิเศษ (string heddles) นอกจากเขาที่ทอแบบธรรมดา ในการทำลวดลายขิดจากไม้ค้ำสามารถทำให้เกิดลวดลายได้สองครั้ง ครั้งแรกในขณะที่ไม้ค้ำสอดใส่เข้าไปในเส้นยืน และครั้งที่สองในขณะที่ดึงไม้ค้ำออก ส่วนการที่จะให้เส้นพุ่งผ่านไปได้นั้นต้องใช้ไม้ดาบ (blade) ซึ่งเป็นไม้แบนยาวสอดผ่านเส้นยืนเข้าไปแล้วพลิกทางเส้นไม้ขึ้น สำหรับการทำลวดลายจากเขา ทำให้ประหยัด เวลาและทุ่นแรงมาก แต่ข้อจำกัดคือ สามารถทำให้เกิดลวดลายแบบธรรมดาๆ เท่านั้น ซึ่งต่างไปจากการใช้มือ ลวดลายที่เกิดขึ้นจากการใช้เขาขึ้นอยู่กับจำนวนและตำแหน่งของเขาที่ใช้ กลุ่มคนในตระกูลไทจะใช้เทคนิคการทอผ้าด้วยเขาเป็นสองระบบ คือ
    • ระบบแรก ใช้เขาที่ทำจากเชือกหลายอัน แต่ละอันผูกติดกันกับแถบไม่ที่โยงฟืมและเขา (heddle rod) ในขณะทอเมื่อผู้ทอจะใช้เขาอันไหนก็นำเชือกที่ผูกอยู่ไปเกี่ยวกับไม้ตะกอ (treadles) ระบบนี้พบใช้ในกลุ่มไทลื้อ ในอำเภอเชียงของ แต่ไทลื้อส่วนใหญ่จะใช้ระบบของไม้ค้ำ (shed sticks)
    • ระบบที่สอง ใช้เขาหลายอันแขวนไว้กับแนวดิ่ง หรือที่รู้จักกันว่าเขาเก็บขิด (vertical heddles) ผู้ทอใช้ไม้ขิดเสียบเข้าไปในเชือกของเขาเก็บขิดเช่นเดียวกับที่ใช้ไม้ค้ำกับเส้นด้ายยืน วิธีการนี้สามารถทำให้เกิดลวดลายต่างๆ ได้หลายครั้ง ในระหว่างการทอไม้เก็บขิดที่แขวนเรียงอยู่จะถูกทยอยใช้ อันที่ใช้แล้วจะถูกนำไปแขวนข้างใต้ด้ายเส้นยืน แล้วก็จะทำลายซ้ำกันโดยวิธีเดียวกัน คือนำไม้เก็บขิดกลับขึ้นไปข้างบนอีก ระบบนี้ค่อยข้างจะยากในการทำลวดลาย จำเป็นต้องใช้ผู้ช่วยอีกสองคนในการช่วยยกเขาเก็บขิด ระบบนี้พบใช้กันมากในภาคอีสาน
      • ยกดอก เป็นเทคนิคการทำลวดลายซึ่งเกิดจากวิธีการยกเขาแยกเส้นยืนขึ้นลง แต่ไม้ได้เพิ่มเส้นด้ายเส้นพิเศษเข้าไปในผืนผ้า เช่น การจก หรือ การขิด ลายยกดอกต่างๆที่ปรากฏนั้นมีทั้งลายสาม-แปดตะขอ (Twill) ลายก้างปลา (Zherring-bone wave) และลายขัดสอง (basket wave) การยกดอกในบางครั้งจะมีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งจำนวนสองเส้นหรือมากกว่านั้นเข้าไป หรือเพิ่มดิ้นเงินดิ้นทองเข้าไป ซึ่งจะทำให้ได้ลวดลายเหมือนกันมากกับลวดลายที่เกิดจากเทคนิคการจกและการขิด เราจะสามารถบอกความแตกต่างได้ก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเท่านั้น ในลวดลายที่เกิดจากเทคนิคการจกและการขิดนั้น ด้ายเส้นพุ่งพิเศษที่เพิ่มเข้าไปสามารถดึงออกได้โดนไม่ทำให้เนื้อผ้าเสียหาย แต่ในกรณีของการยกดอกจะทำให้เกิดผลตรงข้าม ลวดลายการยกดอกรู้จักกันดีในกลุ่มชนตระกูลไท ซึ่งใช้เทคนิคนี้ในการใช้ทอผ้าห่ม เพราะทำให้เนื้อผ้าที่ทอหนาขึ้นเหมาะสมกับการใช้งาน ไทยวนที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ใช้เทคนิคการทอผ้าด้วยการยกดอกสี่ตะกอลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (a diamond pattered twill) ซึ่งคล้ายกันมากกับผ้าห่มของพวกไทยทวน ในล้านนาสีที่ใช้จะเป็นสีแดง หรือสีดำ และสีขาวเป็นลายตาราง (a chequer design) สลับกันไปทั้งผืน
      • เกาะ หรือ ล้วง วิธีเกาะเป็นเทคนิคการทอที่ไม่ได้เส้นด้ายพุ่งสอดใส่จากริมผ้าด้านหนึ่งไปสู่ริมผ้าอีกด้านหนึ่งตามวิธีการทอแบบธรรมดาทั่วไป และไม่ใช้วิธีการทอโดยเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปในเนื้อผ้า เช่น เทคนิคการจก แต่การทอแบบ เกาะ เป็นการใช้ด้ายเส้นพุ่งหลายๆสี เป็นช่วงๆ ทอด้วยเทคนิคธรรมดาโดยการเกี่ยวและผูกเป็นห่วง (hook and dove-tail) รอบด้ายเส้นยืนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อป้า ลวดลายที่ละเอียดและซับซ้อนก็สามารถทำได้ด้วยเทคนิคนี้
      • มุก เป็นเทคนิคการทออีกวิธีหนึ่งซึ่งปัจจุบันใช้กันอยู่น้อยมากกลุ่มชนที่ยังใช้เทคนิคนี้ ได้แก่ ไทแดง และไทพวน ที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว รวมถึงกลุ่มที่อพยพมาอยู่แถวเมืองเวียงจันทร์ และภาคเหนือของประเทศไทยด้วย วิธีทอใช้เทคนิคการเพิ่มเส้นยืนเข้าไปในเนื้อผ้า โดยการเตรียมด้ายเส้นยืนพิเศษไว้ตอนบนของกี่เหนือด้ายเส้นยืนธรรมดาที่ขึงไว้ ลวดลายบนผืนผ้าที่เกิดจากเทคนิคนี้คล้ายกันมากกับลวดลายที่เกิดจากเทคนิคการขิดและจก อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย ถ้าหากเกิดการสับสนในทิศทางของด้ายเส้นยืน กลุ่มไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และชาวไทลื้อในเขตจังหวัดน่าน เรียกลวดลายที่เกิดจากการขิดนี้ว่า ลายมุก ซึ่งอาจทำให้สับสนลวดลายมุกของที่อื่นๆ ลายมุกของกลุ่มไทแดงนั้นแตกต่างจากลวดลายมุกของกลุ่มไทพวน โดยไทแดงนิยมทำลายใหญ่ๆ ใช้สีเขียวอมฟ้าอ่อน และนิยมทอลายมุกผสมผสานกับลายจก ขิด และมัดหมี่บนผ้าซิ่นผืนเดียวกัน ส่วนไทพวนนิยมทอลายมุกขนาดเล็กด้วยสีขาว

       

      0 ความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น