วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

วิถีชีวิตกับการใช้ผ้าพื้นเมืองในล้านนา



การทอผ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวล้านนาเป็นอย่างมาก เป็นงานที่ผู้หญิงแทบทุกคนจะต้องทำได้ เพราะความจำเป็นในการใช้สอยในครอบครัวเป็นกรอบบังคับอยู่ในอดีต การทอผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองของล้านนานั้น จะทอขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยเป็นหลัก ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองประเภทกว้างๆ คือ

  • ประเภทที่หนึ่ง เป็นผ้าทอขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน ผ้าประเภทนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับความประณีตงดงามนัก เช่น ผ้าซิ่นที่ชาวบ้านนุ่งทำงาน หรืออยู่กับบ้าน มักทอเป็นผ้าฝ้ายสีเรียบๆมีลวดลายง่ายๆมักมีสีพื้นเป็นหลัก เช่น สีพื้นดำหรือสีกรมท่า สลับด้วยลายขวางเป็นแถบสีแดงหรือสีส้ม เช่น ผ้าซิ่นเมืองแพร่ เป็นต้น หรือถ้าจะทอเป็นผ้าสำหรับตัดเสื้อที่ใช้ในงานประจำวันอย่างเสื้อหม้อห้อมก็จะเป็นผ้าเนื้อหยาบๆเพื่อความคงทน แล้วย้อมสีด้วยใบต้นคราม หรือต้นห้อม เป็นต้น นอกจากเครื่องนุ่งห่มแล้ว ผ้าที่ใช้สอยอย่างอื่น เป็นต้นว่า ผ้าขาวม้า ย่าม ผ้าห่ม ก็มักทออย่างเรียบๆ แต่บางท้องถิ่น ก็จะทำให้มีสีสดใสน่าใช้ก็มี
  • ส่วนผ้าอีกประเภทหนึ่ง เป็นผ้าทอไว้ใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น ผ้าสำหรับนุ่งห่มหรือใช้ในงานทำบุญ งานนักขัตฤกษ์ และพิธีการสำคัญๆ อาจจะต้องใช้ผ้าที่มีความประณีตงดงามเป็นพิเศษ เพราะการทอผ้าประเภทนี้นอกเหนือจากต้องประกวดประชันกันในด้านความประณีตงดงามแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมในกลุ่มชนนั้นด้วย ในโอกาสพิเศษเหล่านี้ผู้หญิงมักแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่มีลักษณะพิเศษ ซิ่นอาจเป็นซิ่นตีนจกที่มิเชิงหรือตีนทอเป็นลวดลายแบะสีสันงดงามเป็นพิเศษ

นอกจาการทอผ้าเพื่อใช้สอยโดยตรงแล้วชาวล้านายังใช้ผ้าและวัตถุที่ใช้ผ้า คือ เส้นด้าย มาเกี่ยวข้องสนองความเชื่อและงานประเพณีพื้นบ้านของตนด้วย เช่น การใช้ด้ายมาประดิษฐ์เป็นตุงหรือธงใช้ในประเพณีทานตุง หรือแม้ในงานพิธีศพก็ใช้ผ้าดิบสีขาวมาทำเป็นตุงสามหางถือนำหน้าศพ เพื่อที่จะช่วยนำวิญญาณของผู้ตายไปสู่สุขคติได้

ประเภทของผ้าทอแบบพื้นเมืองของชาวล้านนาซึ่งเป็นผ้าที่มีอยู่ในพื้นถิ่นที่สืบทอดมาแต่โบราณ และยังปรากฏมีการทอและใช้อยู่ในดินแดนล้านนาในทุกวันนี้ ซึ่งอาจจำแนกไปตามกรรมวิธีของการผลิตและวัสดุที่ใช้ดังต่อไปนี้
-->
  • ผ้ายกดอก การทอผ้ายกดอก หมายถึง การยกเส้นยืนเพื่อที่จะสอดเส้นพุ่ง เพื่อทำให้เกิดลวดลาย นิยมทอทั้งผ้าฝ้ายยก และผ้าไหมยก เส้นพุ่งนั้นอาจเป็นฝ้ายหรือไหมสีอื่น เพื่อทำลวดลายให้เกิดขึ้นหรืออาจใช้ดิ้นเงินดิ้นทองก็ได้ การทอผ้ายกมีขั้นตอนตั้งแต่การคัดเลือกเส้นใย การย้อมสี การขึ้นหูกลวดลาย จากนั้นจึงทำขั้นตอนของการทอ ซึ่งขึ้นอยู่กับความชำนาญ แบะความคุ้นเคยกับลายที่ทอ ลวดลายการยกดอกนิยมในกลุ่มตระกูลไทยวน ซึ่งใช้ในการทอผ้าห่ม เพราะทำให้เนื้อผ้าที่ทอหนาขึ้น เช่น ที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทอหนาขึ้น เช่น ที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทอผ้าห่มด้วยการยกตอกสี จะทอลายขนมเปียกปูน หรือลายดอกตะกอที่เรียกว่า ผ้าห่มตาแสง หรือผ้าห่มตะโก้ง ซึ่งใช้ฝ้ายสีแดง ดำ และขาว ทอทั้งเส้นยืนเส้นพุ่ง ทำให้เป็นลายตาราง ปัจจุบันการทอฝ้ายยกดอกที่เป็นที่รู้จักและนิยมกันมากจะเป็นการทอผ้าไหมยกดอก โดยเฉพาะผ้าไหมยกดอกลำพูน ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การทอผ้าไหมยกดอกของลำพูนมีวิวัฒนาการลวดลายเพิ่มมากขึ้นและได้รับอิทธิพลจากราชสำนักมากขึ้น ลวดลายบางลวดลายปรับมาจากผ้าโบราณ หรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพิ่มความวิจิตรบรรจงและงดงามมากขึ้น แหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันได้แก่ โรงทอคุ้มเจ้าหญิงส่วนบุญ โรงทอของคุณยายบัวผัน โนตานนท์ โรงทอห้าจันดี บ้านหลวย โรงทอป้าบุญศรี บุณยเกียรติ โรงทอผ้าสุวรีย์ และโรงทอผ้าเพ็ญศิริไหมไทย ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเขตจังหวัดลำพูนทั้งสิ้น

  • ผ้าซิ่น คือ ผ้าที่เย็บเป็นถุงสำหรับผู้หญิงนุ่ง วิธีการนุ่งจะทบจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้ายก็ได้ โดยเหน็บชายพกไว้ตรงเอว ส่วนเชิงหรือตีนซิ่นจะเสมอกัน อีกวิธีหนึ่งคือ ทบทั้งข้างซ้ายและขวาเข้ามาอยู่ตรงกลาง ส่วนตรงเอวจะพับชายผ้าลงเพื่อเหน็บไว้ไม่ให้หลุดผ้าซิ่นมีความสำคัญ เพราะเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงสถานภาพและแหล่งกำเนิดของกลุ่มชน ซึ่งดูได้จากโครงสร้างและลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าชนแต่กลุ่มจะนุ่งผ้าซิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มของตน ซึ่งทำให้ทราบได้ว่าแต่ละกลุ่มชนชาติพันธุ์กลุ่มใด มาจากหมู่ใด ส่วนรายละเอียดในการออกแบบโครงสร้างและลวดลายบนผืนผ้าซิ่นนั้น เพราะคนในหมู่บ้านเดียวกันจึงจะบอกได้ว่าแสดงหรือบ่งชี้ถึงสภาพของผู้นุ่งอย่างไรสำหรับผ้าซิ่นของชาวล้านนานั้นแม้ว่าจะมีหลายรูปแบบ แต่โดยส่วนรวมแล้วลักษณะโดยทั่วไปของซิ่นของชาวล้านนาจะมีรูปแบบที่เป็นแม่บทอันเดียวกันคือ ลายของตัวซิ่นจะทอเป็นลวดลายขวางกับตัว ซึ่งจะต่างไปจากซิ่นพื้นบ้านอีสานที่นิยมทอซิ่นที่มีลายเป็นทางขนานกับตัวผู้นุ่งเป็นซิ่นลายลง โครงสร้างของซิ่นโดยทั่วไปจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนเอว ส่วนกลาง และส่วนตีนซิ่น ซึ่งผ้าซิ่นของแต่ละกลุ่มชนก็จะมีความแตกต่างกันไปโดยจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง สำหรับผ้าซิ่นที่พบมีในดินแดนล้านนาอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มคือ
    • ผ้าซิ่นแบบไทยวน ผ้าซิ่นแบบไทยวนเป็นผ้าซิ่นแบบเย็บข้างเดียว มีลวดลายขวางบนตัวซิ่น ตีนซิ่นอาจเป็นพื้นธรรมดาสีแดงหรือสีดำ หรือเป็นตีนจกซึ่งจะมีลวดลายอยู่ตรงส่วนบนครึ่งท่อนของตีนซิ่น 
    • ผ้าซิ่นแบบไทลื้อ ผ้าซิ่นแบบไทลื้อเป็นผ้าซิ่นแบบเย็บสองตะเข็บ มีลวดลายขวางบนตัวซิ่น ตัวซิ่นไม่มีลวดลายตกแต่ง แต่ใช้ผ้าซิ่นผ้าพื้นสีความธรรมดา สีดำ หรือสีคราม และแดงเฉพาะในกลุ่มไทลื้อเมืองเงิน 
    • ผ้าซิ่นแบบลาว ผ้าซิ่นแบบลาวเป็นผ้าซิ่นแบบเย็บข้างเดียว ลวดลายบนตัวซิ่นเป็นลวดลายทางยาว หรือเป็นลายมุก ตีนซิ่นอาจเป็นผ้าพื้นธรรมดาหรือเป็นตีนจกซึ่งมีลวดลายเต็มตลอดผืนของตีนซิ่น

นอกจากการแบ่งประเภทของผ้าซิ่นไปตามลักษณะของกลุ่มชนแล้วผ้าซิ่นยังมีชื่อเรียกเฉพาะในแต่ละรูปแบบอีกด้วย ได้แก่
    • ซิ่นก่าน เป็นซิ่นของชาวไทลื้อเมืองน่าน ที่ทอด้วยลวดลายมัดหมี่หรือมัดก่าน หรือคาดก่าน
    • ซิ่นก่านกอความ เป็นซิ่นของชาวไทยวน จังหวัดแพร่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซิ่นแหล้ เป็นซิ่นดำมีริ้วสีแดงคาดตรงส่วนบนของตีนซิ่น 
    • ซิ่นกำเคิบ เป็นผ้าซิ่นเมืองน่านที่ทอด้วยดิ้นทองเป็นลวดขิดเต็มผืน เย็บแบบสองตะเข็บ บางที่เรียกว่า ซิ่นไหมคำเคิบ หรือซิ่นเคิบไหมคำ ตีนซิ่นอาจเป็นผ้าพื้นธรรมดา หรืออาจต่อด้วยตีนจกซึ่งก็นิยมจกด้วยดิ้นเช่นกัน 
    • ซิ่นเชียงแสน เป็นซิ่นเมืองน่าน มีลักษณะเป็นผืนผ้าสีแดงมีริ้วสีเข้ม เช่น สีดำ หรือครามเป็นลายขวาง ทอด้วยเทคนิคขัดสานธรรมดาเย็บแบบสองตะเข็บ  
    • ซิ่นตำ เป็นผ้าซิ่นไทลื้อแบบดั้งเดิม มีลักษณะเป็นลายขวางทอด้วยขัดสานธรรมดาเย็บแบบสองตะเข็บ ต่อส่วนเอวหรือหัวซิ่นแถะส่วนตีนซิ่นด้วยผ้าสีคราม  
    • ซิ่นตำมะนาว เป็นซิ่นของชาวไทยวน จังหวัดแพร่ เป็นซิ่นสีเหลืองมีริ้วลายขวางสีเข้ม เชิงดำ ครม หรือม่วงสลับ 
    • ซิ่นป้อง เป็นซิ่นของเมืองน่าน เย็บสองตะเข็บ ทอด้วยเทคนิคขีดเป็นลายขวางสลับริ้วสีพื้นมีช่วงขนาดของลายที่เท่ากันโดยตลอดคำว่า ป้อง อาจมาจากโครงสร้างของลายขวางเป็นปล้องๆ ซิ่นป้องเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซิ่นคาเหล้ม  
    • ซิ่นเมืองลิน เป็นซิ่นของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อีกแบบหนึ่ง เป็นซิ่นลายขวาง ทอด้วยเทคนิคธรรมดา  
    • ซิ่นตีนจก เป็นซิ่นที่ต่อเชิงด้วยตีนจก ซึ่งผู้หญิงล้านนาแต่ดั้งเดิมจะใช้นุ่งในโอกาสพิเศษ 
    • ผ้าเช็ด คำว่า ผ้าเช็ด เป็นคำภาษาไทลื้อซึ่งใช้เรียกผ้าทอชนิดหนึ่ง แต่ไม่ได้เอามาใช้สอยสำหรับเช็ดส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผ้าเช็ดเป็นลักษณะเป็นผืนผ้าสี่เหลี่ยม ใช้วิธีการทอด้วยการขิดหรือจกเป็นลวดลายต่างๆ หลากหลายแบบ เราอาจแบ่งผ้าเช็ดออกได้เป็น ๓ ขนาด คือ 
      • ผ้าเช็ดหลวง เป็นผ้าชนิดหนึ่งซึ่งพบเฉพาะในกลุ่มไทลื้อลักษณะเป็นผืนขนาดยาวประมาณ ๒-๓ เมตร กว้างประมาณ ๑๕-๓๐ ซม. รูปลักษณะคล้าย ตุง มาก ชาวไทลื้อจะทำผ้าเช็ดหลวงนี้ถวายวัดเช่นเดียวกับการุวายคุง โดยแขวนไว้ในวิหาร สิ่งที่เป็นของแตกต่างระหว่างผ้าเช็ดหลวงกับตุง ก็คือ ลวดลายผ้าเช็ดหลวงนั้นจะไม่มีไผ่คั่นเป็นปล้องๆ และไม่มีลวดลายรูปปราสาทแบบผ้าตุง ลวดลายบนผ้าเช็ดหลวงจะใช้วิธีการเก็บขิดด้วยไม้ค้ำเป็นช่วงๆไป จนกระทั่งถึงครึ่งหนึ่งของความยาวของงผืนผ้าที่ต้องการก็จะยกดอกช่วงหนึ่ง แล้วย้อมกลับทอลวดลายเดิมด้วยวิธีดึงไม้ค้ำออก ทอมาจนสุดความยาวของปลายผ้าอีกด้านหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ลวดลายจึงถูกกำหนดด้วยเทคนิคการทอให้ซ้ำกันจากปลายผ้าทั้งสองข้างไล่ลำดับช่วงมาสู่ตรงกลางผืนผ้าที่เป็นลายยกดอก ผืนผ้าเช็ดหลวงจะเป็นผ้าฝ้ายสีขาว สีที่เด่น ก็คือ สีดำและแดง ลวดลายในแต่ละช่วงจะเป็นรูปคน สัตว์ ดอกไม้ และเรขาคณิต 
      • ผ้าเช็ด เป็นผ้าผืนยาวประมาณ ๑ – ๑.๕๐ เมตร กว้างประมาณ ๑๕ – ๔๐ ซม. เป็นผ้าที่ใช้สำหรับตกแต่งร่างกายในโอกาสพิเศษ ชาวไทลื้อจะใช้เฉพาะสำหรับผู้ชายพาดไหล่เวลาไปวัด หรือไปงานฉลองพิธีกรรมต่างๆ โดยวิธีการพาดจะพับ ๒ – ๓ ทบให้ผ้าหน้าแคบลงพอดีกับไหล่ และพับด้านยาวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ใช้พาดบนไหล่ซ้ายหรอขวาก็ได้ ผ้าเช็ดของชาวไทลื้อที่สิบสองพันนาและที่พบในประเทศไทย จะมีลักษณะเป็นผ้าฝ้ายสีขาวทอด้วยวิธีการขิด รูปแบบเดียวกับผ้าเช็ดหลวงส่วนผ้าเช็ดของชาวไทลื้อที่เมืองเงิน ประเทศลาว ตลอดจนที่พบในหมู่บ้านชาวไทลื้อเขตตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน จะมีลักษณะพิเศษ คือเป็นผ้าทอด้วยวิธีการขิดปละจกสลับสีต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะทอด้วยฝ้ายและไหมผสมกัน บางผืนมีดิ้นเงินดิ้นทองสลับด้วย ลวดลายส่วนใหญ่จะเป็นลายเรขาคณิต มีโครงสร้างเหมอนกับผ้าเช็ดหลวง มีบางปืนเป็นผ้าไหมถ้วน จะมีโครงสร้างคล้ายกับผ้าเบี่ยง ของชาวไทยวนในประเทศลาว 
      • ผ้าเช็ดน้อย เป็นผ้าฝ้ายสีขาวขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๑๕ ถึง ๒๐ ซม. ยาวประมาณ ๒๐ – ๓๐ ซม. มีลายขิดขนาดเล็กเป็นริ้วตรงชาย ผ้าสองข้าง ใช้เป็นผ้าเช็ดหน้า และชาวไทลื้อที่สิบสองพันนาจะใช้ตกแต่งครัวทาน ถวายพระ 
ชาวไทยวนไม่นิยมทอผ้าเช็ด ไม่ว่าจะเป็นผ้าชนิดใด แต่เราจะพบผ้าพาดไหล่ของชาวไทยวนที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียวใหม่ ที่มีลักษณะการตกแต่งลวดลายขิดขนาดเล็กตรงเชิงผ้าคล้ายคลึงกับผ้าเช็ดน้อยขางชาวไทลื้อ นอกจากนี้เราจะพบว่าเวลาไปวัดชาวไทยวนทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใช้ผืนผ้าสีขาวตกแต่งร้างกายเป็นพิเศษ โดยผู้ชายจะใช้พาดไหล่แบบเดียวกับการพาดผ้าเช็ดของชาวไทลื้อ ส่วนผู้หญิงจะนิยมห่มแบบเฉียงที่เรียกว่าห่มแบบสะหว้ายแล่ง หรือเบี่ยงบ้ายซึ่งปัจจุบันนี้มักเป็นผ้าที่ซื้อหาจากตลาดมิได้ทอขึ้นใช้เองดังแต่ก่อน

    • ผ้าหลบ (ผ้าปูที่นอน) ผ้าหลบก็คือผ้าปูที่นอน ซึ่งใช้ปูทับลงบนฟูกหรือสะลีอีกทีหนึ่ง ผ้าหลบของชาวไทยวนโดยทั่วไปจะเป็นผ้าฝ้ายสีชาวทอจัดสานธรรมดา ใช้ฟืมขนาดเล็ก คือ มีหน้ากว้างประมาณ ๔๐ – ๖๐ ซม. ดังนั้นจึงนิยมทอสองผืน แล้วนามาเย็บต่อกลางเพื่อให้มีขนาดพอเหมาะแก่การปูบนฟูกได้พอดี ผ้าหลบ ของชวาไทลื้อและของชาวไทยวนในบางแห่งซึ่งได้รับอิทธิพลการห่อผ้าจากไทลื้อ จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การทอลายขิดตกแต่งลวดลายขิดบนผ้าหลบซึ่งเกิดจากเส้นพุ่งนี้จะนิยมใช้เส้นผ้ายสีแดงสลับสีครามดำ อาจมีเพียง ๑ – ๒ แถวเฉพาะตรงส่วนของเชิงผ้า หรือบางผืนอาจทอลวดลายขิดจนเกือบเต็มผืนผ้าหลบ เหลือเพียงส่วนที่เป็นผ้าพื้นสีขาวเฉพาะตรงส่วนบนเท่านั้น ลักษณะโครงสร้างของผ้าหลบไทลื้อส่วนใหญ่ก็คือตรงชายผ้าจะรวบเส้นฝ้ายกัดเป็นตาข่าย จากส่วนถักนี้ขึ้นไปนะเป็นส่วนช่วงผ้าพื้นสีขาว เรียกว่า ป้าน ก็จะเป็นลายขิดที่เรียกว่า สายย้อย ซึ่งมีลักษณะเป็นลายเส้นตรงเป็นแถวเรียงกันคลล้ายกับลายของเชิงผ้าซิ่นตีนจก ถัดจากลายสายย้อย ก็จะเป็นลายขิดต่างๆ เป็นแถวๆ สลับช่วงสีพื้นเล็กๆ ไปเรื่อยๆ มีทั้งลายขิดพื้นฐานขนาดเล็กและลายที่เกิดจากการคิดประดิษฐ์ผสมผสานลายพื้นฐานจนเป็นลายขนาดใหญ่ สำหรับลายพื้นฐานที่พบอยู่เสมอก็คือ ลายขอเล็ก ขอใหญ่ ขอขะแจ๋ (แปลว่า กุญแจ) ลายกาบ ลายหน่วย ลายเครือ ลายดอกจัน ลายนาค ลายนกหรือหงส์สายช้าง ลายม้า และลายคน ฯลฯ

ปัจจุบันนี้ชาวไทลื้อในสิบสองพันนาและในล้านนาบางแห่งได้รับอิทธิพล จากการใช้วัสดุสมัยใหม่คือใช้ไหมพรมในการทอลายขิด บนผ้าหลบทำให้มีสีสันหลากสีขึ้น แต่ก็ทำให้คุณค่าของวามงามของผ้าทอพื้นบ้านด้อยลง

    • ผ้าปูหลบ (ผ้าปูพื้น) ชาวไทลื้อลาวไทยวนเรียกผ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้ปูนอนคล้ายคลึงกับผ้าหลบว่า ผ้าแหลบ ผ้าแหลบเป็นผ้าที่ใช้ปูกับพื้นได้เลย มิได้ปูลงบนสะลีเช่นผ้าหลบ ลักษณะผ้าแหลบนี้เป็นผ้าฝ้ายีขาวทอด้วยลายขิดจนเต็มผืน เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีดำแดง หรือเป็นสีดำแล้วจกด้วยไหมสีเหลืองตรงในกลางชองรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดผืนผ้าแคบกว่าผ้าหลบครึ่งหนึ่ง (คือ จะใช้ผ้าทอจากฟืมเดียวไม่ต้องต่อกลาง ๒ ผืนเช่นผ้าหลบ) มีผ้าสีแดงขลิบริมโดยรอบ บางครั้งจะมีผ้าพื้นสีดำเย็บซ้อนติดกันอีกชั้นหนึ่ง ผ้าชนิดนี้ใช้สำหรับปูนอนในระหว่างการเดินทางและสำหรับผู้เฒ่าผู้แก่หรือพระสงฆ์ปูนอนที่วัด ผ้าแหลบนี้เรียกกันเป็นหลายชื่อตามแต่ลักษณะ ขนาด และการใช้สอย เช่นเรียกว่า ผ้าเติ้ม ผ้านอนถ้าหากใช้ รองนั่งก็มักจะมีขนาดสั้นครึ่งหนึ่งของผ้านอนนี้ เรียกว่า ผ้านั่ง ใช้เป็นอาสนะของสงฆ์หรือฆาราวาสใช้ปูนั่งในวิหารเวลาฟังเทศ
    • ผ้าหลบหัวช้าง ผ้าอีกลักษณะหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ผ้าแหลบมาก ก็คือ ผ้าที่ใช้ปูหัวช้าง ชาวไทลื้อเรียกว่า ผ้าล้อหัวช้าง ลักษณะของผ้าหลบหัวช้างล้านนาจะมีขนาด ๕๐ X ๑๕๐ ซม. ใช้ผ้าสีแดงขลิบโดยรอบ ใช้เทคนิคการทอทั้งยกดอก ชิด และจกสลับสีสดใส ปัจจุบันผ้าชนิดนี้มิได้ใช้ปูบนหลังช้างแล้ว ยังคงเหลือใช้เฉพาะสำหรับเป็นของมอบให้ญาติผู้ใหญ่ในพิธีแต่งงานเทานั้น เรียกว่า ผ้าล้อ หรือผ้านอน 
    • ผ้าห่ม คือผ้าที่ใช้ห่มร่างกายให้ความอบอุ่น ซึ่งมีทั้งผ้าที่ใช้ห่มคลุมในเวลาปกติ และใช้ห่มในเวลานอน เนื่องจากฟืมพื้นเมองจะมีขนาดหน้าแคบคือกว้างประมาณ ๖๐ ซม. ดังนั้น ผ้าห่มจึงมีลักษณะใช้ผ้าสองผืนเย็บเพาะด้านข้างต่อกัน เพื่อให้มีความกว้างประมาณ ๑๒๐ ซม. ความยาวประมาณ ๒๐๐ ซม. พอเหมาะแก่การห่มคลุม ผ้าห่มที่พบใช้ในถิ่นล้านนา จะมีอยู่ ๓ ลักษณะ คือ 
      • ผ้าห่มตาแสง หรือผ้าห่มตาโก้ง เป็นผ้าฝ้ายทอลายยกดอกโดยใช้เขา ๓ – ๘ เขา สีที่นิยมคือ สีดำ แดง ขาว ซึ่งสลับสีทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ทำให้เกิดเป็นลายตาลางสีเหลี่ยม ลางผืนก็มีเฉพาะสีดำสลับชาวหรือสีแดงสลับขาว หรือสีขาวทั้งผืน มีริ้วสีดำ เฉพาะเส้นยืนตรงริมผ้าสองช้าง ผ้าที่ใช้ห่มคลุมตัวในเวลาปกติจะมีขนาดราว ๑๒๐ x ๒๐๐ ซม. เรียกว่า ผ้าตุ๊ม (แปลว่า คลุม) ส่วนผ้าที่ใช้ห่มเวลานอนเรียกว่า ผ้าต้วบมักจะทอให้ขนาดยาวอีกเท่าตัวคือราว ๔๐๐ ซม. แล้วทบเย็บหัวท้ายติดกัน ทำให้ผ้ามีความหนาสองชั้นสามารถให้ความอบอุ่นมากขึ้น ลักษณะผ้าห่มชนิดนี้ใช้กันทั่วไปในล้านนา ทั้งในกลุ่มชาวไทยวน ไทลื้อ และลาว 
      • ผ้าห่มของไทลื้อ ที่เป็นเอกลักษณ์แบบตั้งเดิมก็คือผ้าห่มที่ทอด้วยลายขิดทั้งผืน เป็นลายทางยาวเรียกว่า ลายงูลอย สลับ ลายหน่วยเครือ ผืนผ้าเป็นสีขาว ส่วนลวดลายขิดเป็นสีแดงหรือสีดำครามผ้าห่มชนิดนี้ถ้าใช้ห่มเวลานอนจะมีผ้าผืนสีชาวซ้อนอีกชั้นหนึ่ง โดยเย็บเฉพาะส่วนเชิงด้านบนติดกัน ทำให้ผ้ามีความหนาสองชั้น ให้ความอบอุ่นมากขึ้น 
      • ผ้าห่มลาว เป็นผ้าห่มชนิดที่มีลวดลายจกและขิดตรง ส่วนเชิงข้างเดียว ผืนผ้าทอด้วยวิธียกดอก ใช้ฝ้ายเส้นใหญ่หรือฝ้าย ๒ - ๓ เส้นทอทำให้ผ้ามีความหนาและนิยมใช้สีแดง ดำ และชาวในการทอ

นอกจากนี้ยังมีผ้าที่ทอโดยชนกกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่เป็นอันมากจนอาจถือได้ว่าเป็นประชาชนส่วนหนึ่งของล้านนาด้วย ผ้าที่ผลิตโดยชนกลุ่มน้อยนี้มีรูปแบบและกรรมวิธีที่แตกต่างกันไปตามคตินิยมและขนบธรรมเนียมและประเพณีของตน ได้แก่ ผ้าของชาวกะเหรี่ยง ม้ง อีก้อ เย้า ลีซอ มูเซอดำ มูเซอแดง ปะหร่อง เป็นต้น ตลอดจนสิ่งชองเครื่องใช้ที่เป็นผ้า ซึ่งเป็นผ้าที่ใช้วิธีการทอ รูปร่างลักษณะ ลวดลาย ตลอดจนเทคนิคการทอก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่เสดงออกถังเอกลักษณ์ในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย เช่น ถุงย่าม ตุงผ้าทอ และผ้าห่อคัมภีร์ เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะไม่กล่าวถึงในรายละเอียด


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น