วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

ยุคก่อนอาณาจักรล้านนา




ก่อนการก่อตั้งอาณาจักรล้านนาตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 19 นั้นได้พบว่ามีกลุ่มบ้านเมืองเกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยกระจายอยู่ตามที่ลุ่มแม่น้ำสายต่างๆ ซึ่งบ้านเมืองในแต่ละพื้นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในรูปแบบของแคว้นหรือรัฐขนาดเล็ก ที่มีเมืองใหญ่เป็นศูนย์กลาง และแต่ละแคว้นต่างก็เป็นอิสระไม่อยู่ตรงต่อกันในทางการปกครอง แต่ส่วนมากจะมีความสัมพันธ์กันในทางเรืองญาติและเกี่ยวข้องในทางการค้า ในเขตภาคเหนือตอนบนที่เรียกกันว่าอาณาจักรล้านนา ซึ่งหมายรวมถึง 8 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และรวมถึงดินแดนบางส่วนของประเทศพม่า ประเทศจีน และประเทศลาวซึ่งแคว้นที่สำคัญๆ ที่ปรากฏอยู่ได้แก่ แคว้นหริภุญไชยลำพูน แคว้นโยนก แคว้นพะเยา แคว้นน่าน ซึ่งมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยภูเขา เนินเขา และที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งเชื่อกันว่า ลักษณะภูมิประเทศและประวัตศาสตร์อันยาวนานของล้านนาไทยนั้นมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการทอผ้าพื้นบ้านของเมืองเหนือ อันมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองโดยเฉพาะกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในล้านนาไทยแต่เดิมคือกลุ่ม ไทยลื้อ ไทใหญ่ ไทยเขิน ไทลาว แต่ชนกลุ่มใหญ่ที่สุด คือ ไทยวน หรือไทยโยนกซึ่งในภายหลัง แม้จะโยกย้ายไปตั้งภูมิลำเนาถิ่นฐานใดก็จะนำวัฒนธรรมการทอผ้าไปปรากฏอยู่ด้วยเสมอ (ลักษณะของผ้าทอที่มีลวดลายต่างๆ สวยงามแตกต่างกันไปตามศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่าซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตและการใช้ลวดลายตลอดจนสีสันต่างๆ บนเนื้อผ้าตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ ขนบธรรมเนียมความเชื่อถือ และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ตลอดจนค่านิยมในสังคมที่สืบทอดกันมา)

เอกสารอ้างอิง
  • ผ้าทอพื้นเมือง โครงการสำรวจผู้ผลิตทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ขวัญเมือง จันทโรจนี ลักษณะทางวัฒนธรรม ความเชื่อและชาติพันธ์ : ภาคเหนือตอนล่าง เอกสารการสัมมนา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น